มาสวดมนต์เจริญภาวนากันเถอะครับ!!

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วิธีการสวดมนต์ที่ถูกต้อง
บทสวดมนต์หลายบทนั้นมีอานุภาพในตัวเองมากมายมหาศาล แต่ต้องขึ้นอยู่กับ "ผู้สวด" ด้วยมีหลายท่านได้ยินได้ฟังมาว่า คนนั้นคนนี้สวดมนต์บทนั้นบทนี้แล้วจะได้รับสิ่งที่ดีๆ อย่างนั้นอย่างนี้จึงมีผู้เลือกเอาบทสวดมนต์ต่างๆ มาบอกเล่ากันว่าควรสวดบทไหนขอเรียนให้ท่านทราบด้วยความจริง....ว่า...การที่สวดมนต์ตามบทสวดมนต์ต่างๆ แล้วได้สมหวังตามความปรารถนา หรือสวดแล้วได้โชคลาภต่างๆ นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ "บทสวดมนต์" แต่เพียงอย่างเดียว มีองค์ประกอบอย่างอื่นด้วยองค์ประกอบของการได้ทุกอย่างตามที่ปรารถนานั้น มีส่วนสำคัญอยู่ 3 ส่วน 1. กรรม 2.ตัวเราเอง 3.ผู้ช่วยหรือสิ่งต่างๆ ช่วย
1.กรรม  มีอัตราส่วน 50 %
ถ้าคนเราไม่มีส่วนของการกระทำที่ได้เคยทำไว้ในอดีตมาเป็นพื้นฐานแล้ว ไม่มีทางที่จะดีขึ้นมาได้
เปรียบเทียบว่า กรรม ดีที่เราทำนั้น เป็นกำลังพื้นฐานที่รองรับเรื่องราวต่างๆ

2.ตัวเราเอง มีอัตราส่วน 25 %
ถ้าเราเองไม่ทำตัวให้ดี เพื่อรองรับ หรือรอรับสิ่งที่ดีๆ แล้ว ก็ไม่มีทางที่จะได้ดีขึ้นมาได้

3.ผู้ช่วยหรือสิ่งที่มาช่วย มีอัตราส่วน 25 %
ผู้ช่วยในที่นี้ รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นครูบาอาจารย์ ผู้ที่มีจิตดี จิตบริสุทธิ์ พรหม เทพ เทวดา
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ บทสวดมนต์ พระคาถา เครื่องราง ของขลัง วัตถุมงคล ฯลฯ

บทสวดมนต์ที่ดีและสามารถใช้ในชีวิตได้
ข้าพเจ้าได้รวบเอาบทสวด สรรเสริญพระรัตนตรัย บทสวดพุทธชัยมงคลคาถา
บทสวดมหากาฯ และบทสวดพระคาถาชินบัญชร และไฟล์ Download

ประวัติความเป็นมาของบทสวดพาหุงมหากาฯ
พาหุงมหากาฯ หรือพาหุงมหาการุณิโกฯ คือบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และบทพาหุงอันเริ่มด้วย พาหุงสะหัส จนไปถึง ทุคคาหะทิฏฐิ แล้วเรื่อยไปจนถึง มหาการุณิโกนาโถหิตายะฯ จบลงด้วย ภะวะตุสัพพะมังคะลังฯ สัพพะพุทธาฯ สัพพะธรรมาฯ สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุเม เรียกรวมกันว่า “พาหุงมหาการุณิโกฯ”

บทพาหุงนี้คือบทที่ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ได้ถวายให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไว้สวดเป็นประจำทุกวัน เวลาอยู่กับพระบรมมหาราชวัง และในระหว่างศึกสงคราม จึงปรากฏว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้าทรงรบ ณ ที่ใดทรงมีชัยชนะอยู่ตลอดมา มิได้ทรงเพลี่ยงพล้ำเลย แม้ จะเพียงลำพังสองพระองค์กับสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า ท่ามกลางกองทัพพม่า ด้วยการกระทำยุทธหัตถี มีชัยเหนือพระมหาอุปราชา ณ ดอนเจดีย์ปูชนียสถาน แม้ข้าศึกจะยิงปืนไฟเข้าใส่พระองค์ในตอนที่เข้ากันพระศพของพระมหาอุปราชาออกไปราวกับห่าฝนก็มิปาน แต่ก็มิได้ต้องพระองค์ ด้วยเดชะพาหุงมหาการุณิโกฯ ที่ทรงเจริญอยู่เป็นประจำนั่นเองไม่เพียงแต่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเท่านั้นที่พบความมหัศจรรย์ของบทพาหุงมหาการุณิโกฯ แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงได้พบเช่นกัน โดยมีบันทึกโบราณบอกไว้ดังนี้

เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้วก็ทรงเล็งเห็นว่า สงครามกู้ชาติต่อจากนี้ไปจะต้องหนักหนาและยืดยาว จึงทรงโปรดเกล้าให้สร้างพระยอดธงแบบกรุงศรีอยุธยาขึ้น แล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลายมาสวดบทพาหุงมหาการุณิโกฯ อธิษฐานบรรจุไว้ในองค์พระ และพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วยการเจริญพาหุงมหาการุณิโกฯจึงบันดาลทรงให้กู้ชาติสำเร็จ “พาหุงมหาการุณิโกฯ นั้น เป็นบทสวดมนต์ที่มีค่ามากที่สุด มีผลดีที่สุด เพราะเป็น ชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดา จากพระยาวสวัสดีมาร จากอาฬวกะยักษ์ จากช้างนาฬาคีรี จากองคุลิมาร จากนางจิญจามานวิกา จากสัจจะกะนิครนธ์ จากพญานันโทปนันทนาคราช และท่านท้าวผกาพรหม เป็นชัยชนะที่พระองค์ทรงได้มา ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ และด้วยอำนาจแห่งบารมีธรรมโดยแท้ ผู้ใดได้สวดไว้เป็นประจำทุกวัน จะมีชัยชนะ มีความเจริญรุ่งเรือง ตลอดกาลนาน มีสติระลึกได้ จะตายก็ไปสู่สุคติภูมิ สวด พาหุงมหาการุณิโกฯ กันให้ได้ทุกบ้าน สวดให้ได้มากๆ จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง สวดพาหุงมหาการุณิโกฯ ก่อนแล้วจึงสวดชินบัญชร เพราะชินบัญชรนั้น เจ้าประคุณสมเด็จท่านได้สวดบูชาพระอรหันต์ของท่านต้องสวดพาหุงมหาการุณิโกฯ ก่อนแล้วจึงมาถึงชินบัญชรให้จดจำกันเอาไว้นั่นแหละมงคลแห่งชีวิต

บทสวดสรรเสริญพระรัตนตรัย
๑. พุทธคุณ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทูอนุตตะโร
ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

๒. ธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ

๓. สังฆคุณ
สุ ปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆอุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลาเอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆอาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ


คำแปล
พุทธคุณ – แม้เพราะอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระอรหันต์ผู้บริสุทธิ์เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่นควรได้รับความ เคารพบูชา เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชาและความประพฤติ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่าเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว และเป็นผู้จำแนกแจกธรรม

ธรรมคุณ – พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ขึ้นอยู่กับกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

สังฆคุณ – พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง เป็นผู้ปฏิบัติสมควร เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ของทำบุญ เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลีกราบไหว้ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

บทสวดพุทธชัยมงคลคาถา
พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคลานิฯ
( พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระยามารผู้เนรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ
ขี่ช้างครีเมขละ มาพร้อมกับเหล่าเสนามารซึ่งโห่ร้องกึกก้อง ด้วยวิธีอธิษฐานถึงทานบารมี เป็นต้น,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ )

มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
( อนึ่งพระจอมมุนี ได้เอาชนะยักษ์ชื่อ อาฬวกะ ผู้มีจิตหยาบกระด้าง
ผู้ไม่มีความอดทน มีความพิลึกน่ากลัวกว่าพระยามาร
ซึ่งได้เข้ามาต่อสู้อย่างยิ่งยวดจนตลอดคืนยันรุ่ง ด้วยวิธีทรมานอันดี คือ ขันติ ความอดทน,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ )

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
( พระจอมมุนี ได้เอาชนะช้างตัวประเสริฐ ชื่อ นาฬาคิรี ที่เมายิ่งนัก และแสนจะดุร้าย
ประดุจไฟป่าและจักราวุธและสายฟ้า ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำ คือ ความมีพระทัยเมตตา,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ )

อุกขิตตะขัคคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
( พระจอมมุนี ทรงคิดจะแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ จึงได้เอาชนะโจรชื่อ องคุลิมาล
ผู้แสนจะดุร้าย มีฝีมือ ถือดาบวิ่งไล่พระองค์ไปสิ้นระยะทาง ๓ โยชน์,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ )

กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฎฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
( พระจอมมุนี ได้เอาชนะคำกล่าวใส่ร้ายของ นางจิญจมาณวิกา ซึ่งทำอาการเหมือนดั่งตั้งครรภ์
เพราะเอาท่อนไม้กลมผูกไว้ที่หน้าท้อง ด้วยวิธีทรงสมาธิอันงาม
คือ ความกระทำพระทัยให้ตั้งมั่นนิ่งเฉย ในท่ามกลางหมู่ชน,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ )

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
( พระจอมมุนี ผู้รุ่งเรืองด้วยแสงสว่าง คือ ปัญญา ได้เอาชนะ สัจจกะนิครนถ์
ผู้มีความคิดมุ่งหมายในอันจะละทิ้งความสัตย์
มีใจคิดจะยกถ้อยคำของตนให้สูงประดุจยกธง และมีใจมืดมนยิ่งนัก ด้วยการแสดงเทศนาให้ถูกใจ,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ )

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธีนา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
( พระจอมมุนี ได้เอาชนะพญานาคราช ชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิด มีฤทธิ์มาก
ด้วยวิธีบอกอุบายให้พระโมคคัลลานเถระพุทธชิโนรส แสดงฤทธิ์เนรมิตกายเป็นนาคราช
ไปทรมานพญานาค ชื่อ นันโทปนันทะ นั้น,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ )

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทะพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
( พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระพรหมผู้มีนามว่า ท้าวผกาพรหม ผู้มีฤทธิ์
คิดว่าตนเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์ ผู้ถูกพญานาครัดมือไว้แน่น
เพราะมีจิตคิดถือเอาความเห็นผิด ด้วยวิธีวางยา คือ ทรงแสดงเทศนาให้ถูกใจ
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ )

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะมยยะ นะโร สะปัญโญ ฯ
( บุคคลใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดและระลึกถึงพระพุทธชัยมงคล ๘ คาถาเหล่านี้ทุกๆ วัน
บุคคลนั้นจะพึงละความจัญไรอันตรายทั้งหลายทุกอย่างเสียได้ และเข้าถึงความหลุดพ้น
คือ พระนิพพานอันบรมสุข นั้นแลฯ )

Download (มีทั้งบทสรรเสริญพระรัตนตรัยและ
พุทธชัยมงคลคาถา)

บทสวดมหากาฯ

มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง
ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา.

ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวะเมวะ ชะโย โหตุ ชะยามิ ชะยะมังคะเล.

อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปุถุวิปุกขะเล
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ.

สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปปะภาตัง สุหุฏฐิตัง
สุขะโณ สุหุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ.

ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธิ เต ปะทักขิณัง
ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ.

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

Download (มีบทสวดมหากาฯ)

Download (ภะวะตุสัพฯ)

บทสวดพระคาถาชินบัญชร
เพื่อความเป็นสิริมงคลและเพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้นก่อนเจริญภาวนาชินบัญชรตั้งนะโม 3 จบก่อนแล้วระลึกถึง สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)แล้วบูชาด้วยพระคาถา

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตัง สุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหัง สุคะโต นะโมพุทธายะ

๑. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
คำแปล ๑.พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์
ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ
อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์

๒. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.
คำแปล ๒. มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น

๓. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.
คำแปล ๓. ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง
พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก

๔. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
คำแปล ๔. พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจพระสารีบุตรอยู่เบื้องขวาพระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย
พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง

๕. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.
คำแปล ๕. พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา
พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย

๖. เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว.
คำแปล ๖. มุนีผู้ประเสริฐคือพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง
อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง

๗. กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร.
คำแปล ๗. พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ
มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ

๘. ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.
คำแปล ๘. พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี
พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก

๙. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
คำแปล ๙. ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรสเป็นพระสาวก
ของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้
ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่

๑0. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง.
คำแปล ๑0. พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้าพระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา
พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง

๑๑. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา.
คำแปล ๑๑. พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร
เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ

๑๒. ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.
คำแปล ๑๒. อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้
ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง
สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

๑๓. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
คำแปล ๑๓.ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ
เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม
แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน
อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น
เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ

๑๔. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.
คำแปล ๑๔. ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น
จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล

๑๕. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.
คำแปล ๑๕. ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม
จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า
ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ
แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ

Download (พระคาถาชินบัญชร)

บทแผ่​​​เมตตา

สัพเพ​ ​สัตตา​​ ​ สัตว์​​​ทั้ง​​​หลายที่​​​เป็น​​​เพื่อนทุกข์​ ​เกิด​​ ​​แก่​​ ​​เจ็บ​​ ​​ตาย​​ ​​ด้วย​​​กัน​​​ทั้ง​​​หมด​​​ทั้ง​​​สิ้น​
อะ​​​เวรา​ (โหนตุ) ​ ​จง​​​เป็น​​​สุข​​​เป็น​​​สุขเถิด​ ​อย่า​​​ได้​​​มี​​​เวรแก่​​​กัน​​​และ​​​กัน​​​เลย​
อัพยาปัชฌา​​ ​ ​จง​​​เป็น​​​สุข​​​เป็น​​​สุขเถิด​ ​อย่า​​​ได้​​​เบียดเบียน​​​ซึ่ง​​​กัน​​​และ​​​กัน​​​เลย​
อนีฆา​ (โหนตุ) ​ ​จง​​​เป็น​​​สุข​​​เป็น​​​สุขเถิด​ ​อย่า​​​ได้​​​มี​​​ความ​​​ทุกข์กาย​​ ​​ทุกข์​​​ใจเลย​
สุขี​​ ​​อัตตานัง​ ​ปะริหะรันตุ​ จงมี​​​ความ​​​สุขกายสุขใจ​​ ​​รักษาตน​​​ให้​​​พ้น​​​จาก​​​ทุกข์ภัย​​​ทั้ง​​​สิ้น​​ ​​เถิดฯ​


บทกรวดน้ำ

อิทัง​​ ​​เม​​ ​​มาตาปิตูนัง​​ ​​โหตุ​​ ​​สุขิตา​​ ​​โหนตุ​​ ​​มาติปิตะ​​​โร
ขอ​​​ส่วน​​​บุญนี้จงสำ​​​เร็จ​​ ​​แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า
ขอ​​​ให้​​​มารดาบิดาของข้าพเจ้า​​ ​​จงมี​​​ความ​​​สุข​

อิทัง​​ ​​เม​​ ​​ญาตินัง​​ ​​โหตุ​​ ​​สุขิตา​​ ​​โหนตุ​​ ​​ญาตะ​​​โย
ขอ​​​ส่วน​​​บุญนี้จงสำ​​​เร็จ​​ ​​แก่ญาติ​​​ทั้ง​​​หลายของข้าพเจ้า
ขอ​​​ให้​​​ญาติ​​​ทั้ง​​​หลายของข้าพเจ้า​​ ​​จงมี​​​ความ​​​สุข​

อิทัง​​ ​​เม​​ ​​ครุปัชฌายาจริยานัง​​ ​​โหตุ​​ ​​สุขิตา​​ ​​โหนตุ​​ ​​ครุปัชฌายาจริยา
ขอ​​​ส่วน​​​บุญนี้จงสำ​​​เร็จแด่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า
ขอ​​​ให้​​​ครูอุปัชฌาย์อาจารย์​​ ​​จงมี​​​ความ​​​สุข​

อิทัง​​ ​​เทวะตานัง​​ ​​โหตุ​​ ​​สุขิตา​​ ​​โหนตุ​​ ​​เทวะตา​​​โย
ขอ​​​ส่วน​​​บุญนี้จงสำ​​​เร็จ​​ ​​แก่​​​เทวดา​​​ทั้ง​​​หลาย
ขอ​​​ให้​​​เทวดา​​​ทั้ง​​​หลาย​​ ​​จงมี​​​ความ​​​สุข​

อิทัง​​ ​​เปตานัง​​ ​​โหตุ​​ ​​สุขิตา​​ ​​โหนตุ​​ ​​เปตะ​​​โย
ขอ​​​ส่วน​​​บุญนี้จงสำ​​​เร็จ​​ ​​แก่​​​เปรต​​​ทั้ง​​​หลาย
ขอ​​​ให้​​​เปรต​​​ทั้ง​​​หลาย​​ ​​จงมี​​​ความ​​​สุข​

อิทัง​​ ​​สัพพะสัตตานัง​​ ​​โหตุ​​ ​​สุขิตา​​ ​​โหนตุ​​ ​​สัพเพ​​ ​​สัตตา
ขอ​​​ส่วน​​​บุญนี้จงสำ​​​เร็จ​​ ​​แก่สัตว์​​​ทั้ง​​​หลาย​​​ทั้ง​​​ปวง
ขอ​​​ให้​​​สัตว์​​​ทั้ง​​​หลาย​​​ทั้ง​​​ปวง​​ ​​จงมี​​​ความ​​​สุข